บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ IT Outsource IT Support : Blog Title the same as above



วิธีแบ่ง partition ใน windows 7 โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริม

วิธีแบ่ง partition windows 7 โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมวิธีแบ่งพาร์ติชั่นนั้นใน วินโดว์ 7 เราสามารถแบ่งพาร์ติชั่นได้เลยโดยที่เราไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่มเติมเพราะ Windows 7 มีระบบแบ่ง Partition ที่มาพร้อมกับวินโดว์อยู่แล้ว ซึ่งขั้นตอนการแบ่งนั้นมันค้อนข้างง่ายและไม่ซับซ้อนอะไรมาก ซึ่งวันนี้ มีทิปไอทีเกี่ยวกับการแบ่ง Partition ใน วินโดว์ 7 มาเสนอครับ ไปดูกันเลยครับ
ก่อนอื่นเราต้องแน่ใจก่อนว่าคอมพิวเตอร์ของเรานั้นยังมีฮาร์ดดิสเหลืออยู่ที่จะแบ่งได้ครับ ถ้าแน่ใจแล้วไปกันเลย

ผู้ใช้ Windows XP รีบอัพเกรดด่วน!! ก่อนตกเป็นเหยื่อ หลัง Microsoft จะหยุดสนับสนุน 8 เมษายนนี้


windows-xp-unsupport-8april2014-b

นับถอยหลังไม่ถึง 30 วัน Microsoft จะหยุดสนับสนุน Windows XP และ Office 2003 ในวันที่ 8 เมษายนนี้  ซึ่ง หากไม่มีการอัพเกรด หรือเปลี่ยนมาใช้ Windows รุ่นใหม่ จะทำให้กลุ่มผู้ใช้ Windows XP และ Office 2003 กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่จะต้องตกเป็นเหยื่อของการจู่โจมจากการคุกคามที่ มีความซับซ้อนและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน

คำสั่ง dos ที่จำเป็น สำหรับ ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

คำสั่ง dos ที่จำเป็น สำหรับ ช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ พิมพ์ อีเมล์
            ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน

วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว

วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว
            พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสีย กันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้าบอกเรา ว่า harddisk ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เราไม่สามารถกู้ข้อมูลที่มีค่า และมีความหมายต่อเราออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อุตส่าห์ถ่ายเก็บไว้มาหลายปี หรือข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น
ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่างพึ่งตกใจไป เพราะคุณสามารถกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียไปแล้วได้ด้วยตัวคุณเอง อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ harddisk ที่เสียชนิดที่ตัว disk ข้างในไม่ยอมหมุน หรือมีการชำรุดทางกายภาพของตัว harddisk ถ้าเสียแบบนี้ก็คงทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก หากปัญหาของคุณเกิดจากการที่ตัว harddisk ได้รับการชำรุดเสียหายทางกายภาพแบบนี้แล้ว ให้คุณติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการกู้ข้อมูลดีกว่า

กฏหมายลิขสิทธิ์ของไทย

กฏหมายลิขสิทธิ์ของไทย
ลิขสิทธิ์คืออะไร
ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น
งานอันมีลิขสิทธิ์
งาน สร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานใน สาขา วรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงาน ที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ

สาเหตุที่คอมพิวเตอร์คุณแฮงค์

สาเหตุที่คอมพิวเตอร์คุณแฮงค์
1. Cpu 
         เครื่องที่แฮงค์บ่อย เนื่องจาก ซีพียู นี้ เกิดจากการนำเอา ซีพียูรุ่นต่ำกว่ามาขายเป็นรุ่นสูงกว่า เนื่องจากซีพียูแต่ละตัว จะถูกผลิตให้ทำงานเกินมาตรฐานประมาณ 20 % อยู่ แล้ว ทำให้เกิดมีพ่อค้าหัวใสเอาซีพียูรุ่นต่ำกว่ามาสกรีนข้อความบนตัวซีพียูใหม่ เป็นรุ่นสูงกว่า ขายได้ในราคาสูงกว่าวิธีการแบบนี้เรียกว่า การ remark บางครั้ง ผู้ขายเครื่อง (ประกอบเครื่องขายอีกที) ก็ไม่รู้ว่าซีพียูนั้นถูก remark หรือไม่ เขาก็รับซีพียูมาเพื่อประกอบอีกทีหนึ่ง พวกนี้ เวลาเรานำเครื่องไปเคลม

ความแตกต่างระหว่าง ไวรัส, หนอน, ม้าโทรจัน, สปายแวร์, ฟิชชิง

ความแตกต่างระหว่าง ไวรัส, หนอน, ม้าโทรจัน, สปายแวร์, ฟิชชิง
          Virus (ไวรัส) แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์ของคุณโดยการเพิ่มจำนวนตัวมันเองขึ้น มาเป็นจำนวนมาก ไวรัสต้องส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ เวลาที่ส่ง E-mail โดยแนบเอกสาร หรือไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วย, การทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซริฟเวอร์, การแลกเปลี่ยนไฟล์โดยใช้แผ่นดิสก์เก็ต เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน

          Worm (หนอน) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจาก

Windows XP จะขึ้นป๊อบอัพแจ้งเตือน ก่อนยุติการสนับสนุน 8 เมษายนนี้

Windows XP จะขึ้นป๊อบอัพแจ้งเตือน ก่อนยุติการสนับสนุน 8 เมษายนนี้

ไมโครซอฟท์เตรียมขึ้นป๊อบอัพแสดงความข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ในวันที่ 8 มีนาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อชักชวนให้ย้ายไปใช้ Windows 7, Windows 8 หรือ Windows 8.1 ก่อนที่ไมโครซอฟท์จะยุติสนับสนุน Windows XP ในวันที่ 8 เมษายน ศกนี้
1
ป๊อบอัพแสดงการแจ้งเตือนจะปรากฎกับผู้ใช้ Windows XP เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้ทราบถึงการยุติสนับสนุน Windows XP ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ศกนี้ โดยที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ให้ข้อมูลว่าระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ากำลังจะกลายเป็น แพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เนื่องจากจะไม่มีการปล่อยซอฟต์แวร์อัพเดตเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในการใช้ งานอีกต่อไป ทำให้เกิดช่องโหว่แก่ผู้ไม่หวังดีที่ใช้โอกาสนี้ปล่อยมัลแวร์หรือไวรัส ประเภทต่างๆ เข้ามารบกวนหรือโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว
ซึ่งข้อมูลที่ไมโครซอฟท์แจ้งให้กับผู้ใช้ Windows XP เป็นการชักชวนให้เปลี่ยนมาใช้ Windows 7, Windows 8 หรือ Windows 8.1 เพื่อรับการบริการทางด้านซอฟตแวร์ที่ใหม่และปลอดภัยกว่า ตลอดจนประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีมากขึ้น
ไมโครซอฟท์จะยุติการสนับสนุน Windows XP ในวันที่ 8 เมษายน เป็นต้นไปครับ

อ้างอิงจาก neowin


บริการ ดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบ Server | ดูแลระบบ Network | สระว่ายน้ำ | สร้างสระว่ายน้ำ
ติดต่อสอบถาม
094-4155985
บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ Server Network

การปิด autorun เพื่อป้องกันไวรัส

การปิด autorun เพื่อป้องกันไวรัส

          ในปัจจุบันนี้ไวรัสจะทำงานได้จาก flash drive โดยการทำงานจาก autorun เป็นส่วนใหญ่จึงอยากเสนอแนะวิธีการหนึ่งที่เป็นการปิดการทำงานของ autorun ของ hardware ทุกอย่างที่เราใช้งานกับเครื่องเราโดยการทำดังนี้
          1. คลิ๊ก start เลือก run
          2. พิมพ์ gpedit.msc
          3. จะปรากฎหน้าต่าง group policy
          4. ที่ user configuration ให้คลิ๊กที่ Administrative Templates ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ system (จะอยู่ด้านขวา)
          5. ดูที่ด้านขวาให้ดับเบิ้ลคลิ๊กข้อความ Turn Off Autoplay
          6. เลือก Enabled
          7. ที่ Turn Off Autoplay on : ให้เลือก All drives
          8. กด Apply และ OK เป็นอันเสร็จ
(ข้อแม้ในการทำ ต้องทำใน User Admin เท่านั้น) ทีนี้เราก็ไม่ต้องกลัวไวรัสที่ run ตัวเองจาก flash drive เรียบร้อย

ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 อย่าควรรู้เมื่อเกิดปัญหากับ Windows

ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 10 อย่าควรรู้เมื่อเกิดปัญหากับ Windows

1. ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
         หนี่งในวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายและมักจะได้ผลเสมอ คือการ Restart เครื่อง หรือเปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่เพราะระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อทำงานได้สักระยะหนึ่งมันอาจจะสับสนอะไรบ้างอย่างในตัวของมันเองทำให้มันแสดงพฤติกรรมแปลกที่ทำให้ผู้ใช้งานเกิดปัญหาได้

2. เปิดเข้าไปดูที่
Action Center (เฉพาะ Windows 7 เท่านั้น)
         ผู้พัฒนา Windows คงทราบดีว่า Windows นั้นมีปัญหามากมายที่แก้ไขเท่าไหร่ก็ไม่จบ ดังนั้นใน Windows 7 ซึ่งเป็น Windows เวอร์ชันใหม่ล่าสุด ทางผู้ัพัฒนาจึงได้คิดค้นระบบที่จะมาช่วยให้ผู้ใช้งานอย่างเรา ๆ จัดการกับปัญหาของ Windows ได้ง่ายขึ้นระบบที่ว่านี้ก็คือ ActionCenter ที่มีอยู่ใน Windows 7 นั่นเอง

      
        
ในหน้าต่างของ
Action Center ให้คุณลองคลิกที่ปุ่ม Troubleshooting เมื่อ คลิกแล้วระบบจะทำการค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่คุณกำลังเจออยู่ให้อัตโนมัติและ ถ้าหากเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้อัตโนมัติระบบก็จะขึ้นข้อความแนะนำ เพื่อให้คุณทราบว่าควรจะทำอะไรต่อไป

3. ลองอัพเดต Windows ดู
         ปัญหาที่คุณเจอ อาจจะเป็นปัญหาที่ไมโครซอฟต์บริษัทผู้ผลิต Windows ทราบอยู่แล้ว และได้สร้างตัวแก้ไขมาให้คุณไว้เรียบร้อยแล้วหน้าที่ของคุณคือคุณจะต้องเอาตัวแก้ไขเหล่านั้นมาติดตั้งใน Windows ของคุณเพื่อตัดตอนปัญหาต่างๆที่คุณเจอ ระบบที่จะช่วยให้คุณอัพเดต Windows ได้อย่างง่ายๆ มีชื่อว่า Microsoft Windows Update ซึ่ง ในกระบวนการอัพเดตคุณจำเป็นจะต้องต่ออินเทอร์เน็ตเอาไว้ด้วยเพื่อให้ระบบอัพ เดตสามารถดาวโหลดตัวแก้ไขต่างๆจากเว็บไซต์ของไมโครซอฟต์ได้


4. ลงไดรเวอร์ใหม่หนึ่ง
            ใน วิธีที่จัดการกับปัญหาเรื่องไดร์เวอร์และฮาร์ดแวร์ได้ชะงักคือการติดตั้งได รเวอร์ตัวใหม่ล่าสุดหรือถ้าไม่สามารถหาไดรเวอร์ตัวใหม่ล่าสุดได้ ก็ได้เอาไดรเวอร์ตัวเดิมนั่นแหล่ะติดตั้งกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งนึงเพียง เท่านี้ก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาของคุณได้อย่างได้ผลเลยทีเดียว

      
        
วิธีการลงไดรเวอร์ตัวใหม่คุณต้องเข้าไปที่
Device Manager ก่อนแล้วทำคลิกขวาเลือกฮาร์ดแวร์ที่คุณต้องการจะจัดการแก้ปัญหาจากนั้นก็ให้คลิกเลือก Update Driver สำหรับการติดตั้งไดรเวอร์ตัวใหม่ล่าสุดหรือคลิกเลือก Uninstall เพื่อลบไดรเวอร์ที่ค้างอยู่ในระบบแล้วค่อยเอาไดร์เวอร์ที่คุณมีติดตั้งเข้า ไปใหม่อีกครั้งหนึ่ง

5. ทำความสะอาดเครื่อง
          ลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นด้วย Disk Cleanupหนึ่ง ในตัวสร้างปัญหาให้กับ Windows คือการที่มีไฟล์ขยะรกเต็มเครื่องมากเิกินไป ดังนั้นการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นทิ้งเสียบ้างจะช่วยลดและป้องกันปัญหาได้ ซึ่งใน Windows ก็มีเครื่องมือสำหรับช่วยลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกจากเครื่องได้อย่างอัตโนมัติเครื่องมือที่ว่าก็คือ Disk Cleanup นั่นเอง


6. ใช้โปรแกรมตรวจสอบไฟล์ระบบ
         หนึ่งในอาการที่สร้างปัญหาน่าปวดหัวใน Windows คืออาการไฟล์ระบบเสีย แต่โชคดีที่ Windows มีตัวสำหรับแก้ไขและซ่อมไฟล์ระบบมาให้ด้วยแต่โปรแกรมนี้จะต้องใช้งานในแบบ Command line เท่านั้น วิธีใช้ก็แค่เปิดหน้าต่าง Command โดยพิมพ์คำสั่ง cmd ลงในช่อง Run แล้วตามด้วยคำสั่ง "SFC /SCANNOW" (คำสั่งไม่ต้องมีเครื่องหมาย " นะครับ) สำหรับผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista และ Windows 7 ต้องเลือกเปิดหน้าต่าาง Command ด้วนสิทธิแบบ Administrator ก่อนถึงใช้คำสั่งนี้ได้


7. ลงโปรแกรมใหม่
         ถ้าปัญหาใน Windows ของ คุณเกี่ยวข้องกับโปรแกรมที่คุณติดตั้งเข้าไปล่ะก็มีวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ แก้ไขปัญหาได้อย่างชะงัก คือการลบและติดตั้งโปรแกรมใหม่ วิธีทำก็ไม่ยากแค่ Uninstall โปรแกรมออกก่อน โดยคลิก Uninstall ในเมนูของโปรแกรม หรือใช้ Add/Remove Programs ใน Control Panel ก็ ได้ หลังจากลบโปรแกรมทิ้งไปแล้วก็ให้เริ่มติดตั้งโปรแกรมใหม่อีกครั้ง เท่านั้นปัญหาของโปรแกรมของคุณน่าจะได้รับการแก้ไขและตัวโปรแกรมก็จะกลับมา ใช้งานได้ดีดังเดิม


8. เข้าเว็บ Microsoft Fix-it
         สำหรับปัญหาที่แก้ไม่ได้ง่ายๆ อย่างหน้าต่าง error ที่ขึ้นโค้ดประหลาดๆ (เช่น 0×80072EE4) คุณสามารถหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ โดยเข้าไปขอความช่วยเหลือจากไมโครซอฟต์ที่เว็บ Microsoft Fix-it (http://support.microsoft.com/gp/cp_fixit_main) ในหน้าเว็บไซต์คุณสามารถเอาโค้ด error ไปค้นหาวิธีแก้ไขได้หรือถ้าหมดหนทางจริง ๆ คุณก็ยังสามารถติดต่อกับไมโครซอฟต์เพื่อคำแนะนำได้อีกด้วย


9. ค้นหาความช่วยเหลือจาก Google
         เมื่อไมโครซอฟต์เริ่มพึ่งไม่ได้ เราคงต้องหันมาพึ่งตัวเองด้วยบริการค้นหาทันใจแบบทุกซอกทุกมุมจาก Google ให้ คุณลองใช้คำค้นที่สั้นและเฉพาะเจาะจงกับปัญหาที่คุณเจอ ถ้าจะให้ดีควรเลือกใช้คำค้นเป็นภาษาอังกฤษจะทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่มากกว่า แต่ถ้าหากคุณเป็นนักค้นหาที่ไม่ค่อยเก่งและยังไม่เก่งภาษาอังกฤษอีกด้วย เราแนะนำให้ข้ามวิธีนี้ไปเลย

10. แก้ไม่ได้ จนปัญญา ให้ลองลง Windows ใหม่ดู
         วิธีสุดคลาสสิกที่แก้ไขปัญหาได้เกือบทุกอย่างคือการติดตั้ง Windows ใหม่ สำหรับวิธีนี้คุณยังมีทางให้เลือก 3 ทางคือ
         - ลง Windows แบบแก้ปัญหาตัวเดิม(หรือที่เรียกว่าลงแบบ Repair)
         - ลง Windows แบบทับตัวเดิม (หรือที่เรียกว่าลงแบบ Upgrade) ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้กับแผ่นติดตั้ง Windows บางแบบบางรุ่นเท่านั้น ถ้าใส่แผ่น Windows เข้าไปในเครื่องของคุณในขณะใช้ Windows ตัวเดิมอยู่ แล้วตัวติดตั้งมันขึ้น Option ให้เลือกแบบ Upgrade แสดงว่าใช้วิธีนี้ได้
         - ลง Windows แบบ ล้างเครื่องลงใหม่ วิธีนี้ค่อนข้างจะโหดร้าย ยุ่งยากและอาจทำให้ข้อมูลในเครื่องของคุณหายได้ (ถ้าคุณไม่ได้สำรองข้อมูลเอาไว้ก่อน) แต่ก็จัดเป็นวิธีที่ได้ผลเป็นที่สุดใครลองวิธีไหนแล้วไม่หายให้ลองวิธีนี้ดู รับประกันผลว่า Windows ของคุณจะกลับมาโลดเล่นเหมือนตอนซื้อเครื่องมาใหม่แน่นอน

Configure DNS Forward Lookup Zones

Configure DNS Forward Lookup Zones


Configure DNS Forward Lookup Zones
ในบทความที่ผมพูดถึงบ่อย ๆ เรื่องการตั้งค่า DNS เพื่อถามหา IP Address นั้น คงจะสงสัยกันบ้างว่า แล้วมันจะค้นหา IP Address จากไหน เพียงแค่ Install DNS Server ไปแล้วก็ใช้ได้เลยหรือไม่ แล้วมันทำงานยังไงเราถึงจะใช้ได้ ในบทความนี้จะสอนการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Record เพื่อใช้ในการแปลงชื่อที่ Client เรียกถามหาให้ตอบกลับไปเป็น IP Address ครับ
เริ่มแรกถ้าหากเราติดตั้ง DNS Server เพียว ๆ แบบไม่ได้ติดตั้งพร้อม Active Directory ด้วยแล้ว เราจะไม่มีอะไรเลย ซึ่งจำเป็นจะต้องสร้าง Forward Lookup Zones ขึ้นมาก่อน ทำได้ดังนี้

Create Forward Lookup Zones

คลิกขวาที่ Forward Lookup Zones เลือก New Zone
New Forward Lookup Zones
หน้า Welcome to the New Zone Wizard คลิก Next
หน้า Zone Type เลือก Primary zone
Create Primary zone
ตรงนี้แหล่ะครับ หน้า Zone Name เป็นการกำหนด Zone ที่จะครอบคลุม Record ต่าง ๆ ที่ Client ถามหา ว่าจะเรียกหา Record จากโดเมนใด ซึ่งเราสามารถสร้าง Zone ได้หลาย Zone ตอนนี้ให้กำหนด Zone ขึ้นมาชื่อว่า domain.local
Zone name
หน้า Zone File ตั้งชื่อไฟล์ของ Zone ซึ่งจะถูกบันทึกไว้ที่ C:\Windows\system32\dns ซึ่งไฟล์นี้มีนามสกุลเป็น .dns
Zone File
หน้า Dynamic Update เป็นการกำหนดว่า ตัว DNS Server นี้ จะสามารถอัพเดต Record ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงได้เองหรือไม่ เช่น เมื่อ Client มีการเปลี่ยนแปลง IP Address ไป หากไม่ได้กำหนด Dynamic Update ไว้ เราก็จะต้องเป็นผู้มาสร้าง Record ใหม่เอง หรือแก้ไขด้วยตัวเอง
Dynamic Update
หน้า Completing the New Zone Wizard คลิก Finish
Completing the New Zone Wizard
เราจะได้ Forward Zone แรก ที่ชื่อว่า domain.local แล้ว
Forward Lookup Zones
ให้เราเข้าไปตรวจสอบก่อนครับว่าตัว DNS Server เอง สามารถค้นหา IP Address ของตัวเองเจอหรือไม่ เพราะก่อนที่จะให้บริการกับผู้อื่น (Client) ตัวเองก็ต้องทำหน้าที่นี้ให้ได้ก่อน โดยการดับเบิลคลิกที่ Name Server
จะพบว่า ตอนนี้ตัวมันเองยังไม่ทราบเลยว่า IP Address ของตัวเองเป็นหมายเลขใด ให้คลิก Edit
Name Server
หน้า Edit Name Server Record คลิก Resolve
Edit Name Server Record
ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด ตัวมันเองจะต้องสามารถค้นหา IP Address ตัวเองได้ จากนั้นก็คลิก OK กลับออกมา
คราวนี้ ไปที่เครื่อง Client แล้วตั้งค่า Preferred DNS server มาที่ IP Address ของเครื่อง DNS Server จากนั้นพิมพ์คำสั่ง nslookup domain.local
nslookup
คำสั่ง nslookup เป็นคำสั่งในการค้นหา IP Address โดยการถามในรูปแบบชื่อโดเมนเนมไป ซึ่งถ้า DNS Server นั้นมีคำตอบ (Record) ไว้ ก็จะสามารถตอบกลับมาได้ว่า โดเมนเนมที่ถามไป ถูกกำหนดให้มี IP Address เป็นอะไร โดยในภาพที่เห็นนั้น ให้ดูบรรทัด Name: จะเป็นบรรทัดที่เราถามหา IP Address ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถตอบกลับมาเป็น IP Address ได้
เรามาทดลองสร้าง Record เพิ่มให้กับ domain.local กัน โดยการคลิกขวา แล้วเลือก New Host (A or AAAA)
Create Host A Record
โดยช่อง Name เราจะปล่อยว่างไว้ก่อน จะระบุเพียงแค่ IP Address
New Host A Record
จากนั้นกลับมา nslookup อีกครั้ง จะพบว่า คราวนี้เราได้ IP Address ตอบกลับมาแล้ว
nslookup
ทดสอบอีกครั้ง โดยการเพิ่ม Record A แล้วระบุ Name ว่า www
New Host A Record
แล้วลองกลับมา nslookup ที่เครื่อง Client อีกครั้ง โดยค้นหา www.domain.local
nslookup
จะพบว่า www.domain.local สามารถตอบกลับมาเป็น IP Address ได้ ซึ่งจะเห็นว่าผมทดสอบค้นหา www2.domain.local ด้วย แต่ปรากฏว่าไม่พบ นั่นก็เพราะว่าเรายังไม่ได้สร้าง Record ไว้นั่นเอง จึงไม่สามารถได้รับคำตอบที่ถามไป
DNS Server นั้น เปิดช่องทำงานที่ Protocol UDP Port Number 53 นะครับ หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็น TCP 53 ด้วยเหตุเพราะว่า การ Query DNS นั้น ต้องการความรวดเร็ว เพียงแค่ส่ง Request Query ไปเท่านั้นแล้วต้องการเพียงแค่คำตอบ ไม่ได้ต้องการความแน่นอนของ Data ที่วิ่งผ่านไป ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ TCP แต่ด้วยเหตุที่ DNS นั้น มี TCP 53 เข้ามาด้วย นั่นเพราะใช้ในเหตุการณ์อื่น เช่น การ Transfer Zone ข้าม DNS Server นั่นเอง ซึ่งตรงนี้จะต้องการความถูกต้อง แน่นอนของ Data
ทดสอบ Disable UDP 53 บน Windows Firewall ของ DNS Server
Disable UDP 53
เมื่อ Disable UDP 53 ไปแล้ว Client ถึงกับหา Record ไม่ได้กันเลยทีเดียว
DNS request timed out
ทั้งหมดนี้ก็เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ให้เข้าใจว่า DNS Server ที่เราใช้อยู่ ก็มีการทำงานลักษณะนี้แหล่ะครับ รวมถึง DNS Server อื่น ๆ ทั่วโลกก็เช่นกัน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนที่เราเข้าเว็บไซต์ เช่น www.itsesa.com กระบวนการก็จะค้นหาจาก Name Server ว่า IP Address ของ Web Server เป็นอะไร ซึ่งไม่จำเป็นว่า DNS Server กับ Web Server จะต้องอยู่ในเครื่องเดียวกัน เมื่อ DNS Server ตอบได้ว่า www.itsesa.com มี IP Address เป็นอะไร มันก็จะทำการวิ่งไปหา Web Server ที่มี IP Address นั้นเอง


ที่มาของข้อมูล : www.itsesa.com


บริการ ดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบ Server | ดูแลระบบ Network | สระว่ายน้ำ | สร้างสระว่ายน้ำ
ติดต่อสอบถาม
094-4155985
บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ Server Network

3 Step before Join Domain

3 Step before Join Domain


3 Step before Join Domain
ปัญหาแบบเส้นผมบังดาวเสาร์แบบนี้ ผมเคยเห็นสอบถามอยู่บ่อยครั้ง ว่าทำไม Join Domain ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ Client และ Server ตั้งอยู่ใน Network เดียวกันแท้ ๆ ซึ่งขั้นตอนนั้นผมได้สรุปมาให้สั้น ๆ 3 ข้อ ก่อนที่คุณจะทำการ Join Domain ที่อยู่ใน Network เดียวกัน
แอดมิน: จอยโดเมนไม่ได้ครับ, ปิงชื่อเครื่องได้ ปิง Server ได้, พิมพ์พาสถูกแล้วครับ, ปิด Firewall แล้วครับ จอยไม่ได้โว้ย ฮา...
ขั้นตอนอันซับซ้อนของการ Join Domain ที่เรามองไม่เห็นนั้นมันมีอยู่หลายขั้นตอน แต่ผมจะหยิบเอาเฉพาะตอนที่เรามองเห็นได้มาสรุปเป็นข้อ ๆ ให้คุณได้ทราบว่า คุณจะต้องทำการตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ให้ผ่านเสียก่อน แล้วการ Join Domain ของคุณนั้นจะไม่มีปัญหาแน่นอน

Step 1: DNS Server

พูดถึง DNS Server ผมหมายถึงให้มองทั้งเครื่องที่ติดตั้ง DNS Server และการตั้งค่า DNS Server ของเครื่อง Client ด้วยครับ โดยที่ DNS Server ที่คุณได้ทำการติดตั้ง Domain Controller นั้น หากการติดตั้งนั้นสมบูรณ์, บน DNS Server ของคุณจะต้องมีข้อมูลของ Zone ประมาณนี้
DNS Server
ผมเคยพบปัญหาที่การติดตั้งไม่สมบูรณ์ ทำให้ข้อมูลภายใน Zone ของ Domain ดังกล่าวปรากฏบน DNS Server ไม่ครบถ้วน ซึ่งทำให้ไม่สามารถ Join Domain ได้ด้วยแหล่ะครับ ดังนั้นควรตรวจสอบตรงนี้ด้วย
อีกสิ่งที่บอกไปก็คือ การตั้งค่า DNS Server ของ Client ที่จะทำการเข้ามา Join Domain นั้น ควรจะระบุเป็น IP Address ของ DNS Server ภายใน ซึ่งปกติแล้วถ้ามีเพียงเครื่อง Domain Controller เครื่องเดียว ก็มักจะมี DNS Server อยู่ด้วยกัน ดังนั้นก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า การตั้งค่า DNS Server ของคุณถูกเป้าหมายไม่พลาด
DNS Server

Step 2: Ping Domain Controller

ขั้นตอนนี้ไม่ใช่การยืนยันว่าคุณจะสามารถ Join Domain ได้ แต่มันเป็นเพียงทดสอบการเชื่อมต่อเท่านั้น ว่าคุณสามารถค้นหา DC ของคุณเจอ ซึ่งถึงกระนั้นหากมีการปิดกั้นไม่อนุญาตให้ Ping ได้ มันก็ยังจะสามารถ Join Domain ได้อยู่นะครับ อย่าเข้าใจผิดว่า ถ้า Ping ไม่ได้ แล้วจะ Join Domain ไม่ได้เลย
การ Ping นั้น ผมอยากให้ทำครบทั้ง 3 Ping โดย Ping จากเครื่อง Client ดังนี้
Ping ชื่อเครื่องของ DC ให้เต็ม FQDN เช่น ping dc.domain.local
Ping ชื่อเครื่องของ DC แบบ NETBIOS หรือก็คือชื่อเครื่อง Serverนั่นแหล่ะครับ เช่น ping dc
Ping Domain ที่ต้องการ Join Domain เช่น ping domain.local
Ping Domain Controller
อาจมีคำถามว่า ทำไมจึงไม่ ping IP Address, คำตอบผมคือ ในเมื่อถ้าคุณสามารถ ping ทั้ง 3 ping แล้วได้รับการ Reply ตอบกลับมาเป็น IP Address ได้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้อง ping IP Address หรอกครับ เพราะยังไงมันก็เจอแน่นอน อีกทั้งขั้นตอนการ Join Domain นั้น มีการอ้างอิงโดยใช้ชื่อแบบ FQDN ดังนั้นควรจะทำการทดสอบการเรียกด้วยชื่อโดเมน เพื่อให้แน่ใจว่า สามารถค้นหา IP Address ได้

Step 3: NSLookup

คำสั่งนี้ยังไงก็ต้องใช้ตรวจสอบครับ เพราะว่าการ Ping อาจเกิดการผิดพลาดจากความไม่ตั้งใจก็ได้ เช่น มีการกำหนด HOST File (ไว้จะเล่าเรื่องนี้ให้อ่านภายหลัง), ชื่อ NETBIOS ซ้ำกันโดยไม่ตั้งใจ  (เกิดขึ้นได้นะครับ ไว้จะทำตัวอย่างมาให้ดู) ซึ่งหากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น ผลลัพธ์การ Ping และการ NSLookup นั้น คุณจะได้คำตอบไม่เหมือนกันแน่นอน ดังนั้นขั้นตอนนี้ผมแนะนำให้ทำการ NSLookup ดังนี้
พิมพ์คำสั่งที่ cmd ว่า nslookup domain.local เพื่อตรวจสอบ IP Address ของ domain
และ nslookup dc.domain.local เพื่อตรวจสอบ IP Address ของ DC
nslookup domain controller
ซึ่งจะต้องได้คำตอบเป็น IP Address ของเครื่อง DC กลับมาเท่านั้น ตามในกรอบสีแดง หากไม่ได้ IP Address ของ DC กลับมาล่ะก็ รับรองว่าคุณมีปัญหาในการ Join Domain แน่นอน
ซึ่งถ้าคุณผ่าน 3 Step นี้ไปได้ การ Join Domain ของคุณก็แทบจะผ่านทั้งหมดแล้วล่ะครับ ซึ่งความผิดพลาดอื่น ๆ มันก็ยังมีมาให้เสียเวลากันไปบ้าง เช่น ชื่อเครื่องผิด, Subnet ต่างกัน หรือแม้กระทั่ง นาฬิกาบน Windows ไม่ตรงกันระหว่างเครื่อง Server กับ Client ก็มี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นปัญหาที่คุณควรจะควบคุมให้อยู่ในขอบเขตตั้งแต่แรก แล้วครับ

ที่มาของข้อมูล : www.itsesa.com

บริการ ดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบ Server | ดูแลระบบ Network | สระว่ายน้ำ | สร้างสระว่ายน้ำ
ติดต่อสอบถาม
094-4155985
บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ Server Network

File Share Permission

File Sharing
เชื่อว่าแอดมินหลาย ๆ คนคงจะรู้จักกับ File Share Server เป็นอย่างดี เพราะมันมีไว้สำหรับแบ่งปันการใช้งานร่วมกันไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ถูกเก็บไว้จากศูนย์กลางที่เดียว คอยให้บริการกับ Client User เข้าไปใช้งานโดยที่ไม่ต้องเก็บไว้กับเครื่องตนเอง และยังสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์เหล่านั้นได้อีกด้วย แต่ปัญหาคือ หลายคนยังกำหนดสิทธิ์ไม่ถูกนั่นเอง
Permission ที่ถูกกำหนดให้กับโฟลเดอร์หรือไฟล์เพื่อป้องกันการเข้าถึง และกำหนดสิทธิ์ให้เฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลสามารถเข้าถึงได้นั้น ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีหลายคนสับสน และกำหนด “มั่ว” แต่ก็นะ มันก็ยังทำงานได้ เพราะว่า Permission นั้นถูกเงื่อนไข แต่พอถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยนถึงกับสิ้นลมกันเลยทีเดียว เพราะต้องมานั่งไล่ว่า จะจับใครออก ใครเข้า Permission นี้ดี ทำไปทำมาถึงกับต้อง Set Permission กันใหม่ทั้งหมด
ขอเอาจากประสบการณ์ของผมเองละกันนะ ไม่ยึดติดอ้างอิงใด ๆ ทั้งสิ้น คือบน File Share Server เนี่ย การที่จะทำให้เครื่อง Client สามารถเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าวได้ เราก็จะต้องสร้าง Share Folder ขึ้นมาก่อน จากนั้นนำไฟล์ต่างๆ ยัดใส่ Folder นั้นไว้ แล้วเราก็ตั้งค่า Permission ไว้ว่าใครสามารถเข้าได้ เข้าไม่ได้ อันนี้เคยทำกันใช่ไหมล่ะครับ, ความยุ่งยากเกิดขึ้นตรงที่ มันมี Permission ให้คุณเพิ่มอยู่ 2 จุด คือ จุดแรกที่แถบ Sharing และจุดที่สองคือแถบ Security คุณสงสัยไหมว่า 2 อันนี้มันมีผลต่างกันอย่างไร แล้วบางคนถึงกับต้องเพิ่ม User Account ลงในทั้ง 2 แถบเหมือนกันเสียด้วย กลายเป็นเพิ่มงาน 2 เท่า วันนี้จะทำให้ดูถึงความแตกต่างละกัน จะได้ใช้กันได้ง่ายขึ้นนะ
Tab Sharing คือ Security ในระดับ Network คำว่าระดับ Network นั่นก็หมายถึง การเข้าถึงจากเครือข่าย ไม่ใช่หน้าเครื่อง เช่น เครื่อง Client ทำการ Browse UNC Path ไปยังเครื่อง File Share แบบนี้ \\FileServer\Data ซึ่งการที่เราจะควบคุมว่าให้ใครสามารถเข้าถึง Sharing นี้ได้ผ่านทาง Network เราจะต้องมากำหนด Permission ในแถบ Sharing นี้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมแนะนำให้เลือกการกำหนดแบบ Advanced Sharing, ยกตัวอย่างว่ามีโฟลเดอร์ Data อยู่ วิธีการกำหนด Permission คือ
คลิกขวาที่โฟลเดอร์ เลือก Properties, แล้วไปที่แถบ Sharing เลือก Advanced Sharing…
Share Folder
Check box ที่ Share this folder แล้วคลิกปุ่ม Permissions
Share this folder
หน้านี้แหล่ะ ที่เราจะ Add User Account เข้ามายัง Network Sharing ให้กับโฟลเดอร์นี้ได้ โดยทดสอบเพิ่ม user1 เข้ามาจากระบบ Active Directory โดยให้มีสิทธิ์ Change,Read
Add user
เมื่อทำเช่นนี้แล้ว Client ที่ Logon ด้วย user1 จะสามารถ Browse Path มายังโฟลเดอร์นี้ได้ และสามารถสร้างไฟล์หรือลบไฟล์ภายใต้โฟลเดอร์นี้ได้ แต่ถ้าหาก Logon จาก Client มาด้วย user อื่นจะไม่สามารถสร้าง ลบ หรือ แก้ไขไฟล์ใด ๆ ได้
Access Denied
จะเห็นว่าเมื่อ Logon จาก Client มาด้วย user2 แล้วลองลบไฟล์ที่ user1 ได้สร้างไว้ จะไม่สามารถลบได้, แต่เชื่อไหมว่า ถ้าทำให้ user2 สามารถ Logon จากหน้าเครื่อง File Server ได้ ก็จะสามารถลบไฟล์นี้ได้ทันที
Delete file
ทำยังไงล่ะ ในเมื่อไม่ได้เพิ่ม Permission ในแถบ Sharing เลยด้วยซ้ำ คำตอบนั่นคือ ผมไปเพิ่ม user2 ในแถบ Security นั่นเอง
Tab Security คือ Security ในระดับ Object (ผมเรียกมันแบบนี้ละกัน) ซึ่งต้องอาศัย Partition ที่ถูกฟอแมตแบบ NTFS โดย Tab Security นั้นจะไม่ได้มองเรื่องระดับ Network คือไม่สนใจว่าจะเข้ามาผ่านเครือข่ายหรือผ่านมาทาง Client Logon แต่ถ้าสามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ๆ ได้ ก็จะสามารถจัดการไฟล์นั้นได้ตามสิทธิ์ที่ถูกกำหนดไว้ในแถบ Security ทันที ซึ่งจากเหตุการณ์ที่ผมลบไฟล์ดังกล่าวได้นั้น ผมได้เพิ่ม Permission ไว้ดังนี้
Permission File Sharing
อธิบายได้คือ ในระดับ Network นั้น Everyone (ทุกคน) มีสิทธิ์ที่จะเข้าอ่านได้ (Read) แต่ user1 นั้นมีสิทธิ์ในการ Change เพิ่มมาด้วย, แต่ คนอื่นที่ไม่ใช่ user1 ได้เข้ามาผ่านทาง Network นั้นจะไม่มีสิทธิ์แก้ไขไฟล์ได้ ยกเว้น user2 ที่ได้เพิ่มไว้
คราวนี้ก็ถึงบางอ้อแล้วว่า แม้ไม่เพิ่ม user2 ในแถบ Sharing แล้ว แต่พื้นฐานทุกคนก็ยังมีสิทธิ์ในการเข้าถึง File Share ผ่าน Network ด้วยสิทธิ์ Everyone ที่เป็น Read อยู่แล้ว แต่ไม่สามารถทำอะไรกับ File ได้ วิธีแก้ไข เราก็แค่เพียงเพิ่มสิทธิ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้ในแถบ Security ก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มในแถบ Sharing อีกก็ได้ ดังนั้นก็สามารถกำหนด Permission แบบง่ายได้ตามนี้
Permission Share Security
โดยพื้นฐานเราก็กำหนดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและแก้ไขเปลี่ยนแปลงไฟล์ใด ๆ ผ่าน Network ได้ โดยไม่ต้อง Logon หน้าเครื่อง File Share Server และคงไม่มีแอดมินคนใดอนุญาตให้ user ทำแบบนั้น จึงต้องเพิ่มสิทธิ์ Change ให้กับ Everyone ไปด้วย แต่เมื่อจะลงมือกับไฟล์ใด ๆ แล้ว สิทธิ์นั้นจะถูกตรวจสอบกับแถบ Security อีกทีว่าสามารถทำได้หรือไม่ ดังตัวอย่างภาพจะเห็นว่า user3 นั้นไม่สามารถแก้ไขไฟล์ใด ทั้ง ๆ ที่ Everyone เป็น Change
Permission Required
นั่นเป็นข้อสรุปได้ว่า การเข้าถึงผ่าน Network นั้น สิทธิ์จะถูกตรวจสอบจาก Tab Sharing แต่การกระทำกับ Object หรือไฟล์ โฟลเดอร์ สิทธิ์จะถูกตรวจสอบจากแถบ Security อีกที ดังนั้นต่อไปนี้ เพียงแค่เรากำหนดให้แถบ Sharing ให้สิทธิ์ Everyone เป็น Change, Read ก็พอ ไม่ต้องเพิ่มใครหรือ Group ใดเข้ามาอีกในแถบนี้ จากนั้นเราค่อยไปกำหนด Group หรือ User ที่จะใช้งานจริง ๆ ในแถบ Security แถบเดียวก็พอแล้วครับ จะช่วยลดความยุ่งยากและซับซ้อนของการกำหนด Permission ลงได้เยอะเลย เช่น กำหนด Permission ให้กับโฟลเดอร์ IT Data โดยให้สิทธิ์เฉพาะ IT Group เข้าได้เท่านั้น ผมก็จะทำแบบนี้
Permission for IT Data 

ที่มาของข้อมูล : www.itsesa.com

บริการ ดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบ Server | ดูแลระบบ Network | สระว่ายน้ำ | สร้างสระว่ายน้ำ

File Share Server & Map Network Drive

File Share Server
คุณสมบัติพื้นฐานของ Windows Server ภายในองค์กรคือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อย่างที่เราเห็นกันอยู่เป็นประจำนั่นคือการทำ File Share Server เพื่อให้ผู้ใช้งานในองค์กรสามารถเก็บข้อมูลไว้ที่แหล่งศูนย์กลางพร้อมกับระบบสำรองข้อมูลที่ดีกว่าการเก็บไว้กับตัวเอง
องค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบันก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการทำงานเอกสารต่าง ๆ อีกทั้งมีข้อมูลประกอบสื่อ เช่น รูปภาพ วีดีโอ ที่จำเป็นต้องเก็บไว้ที่ File Share Server ดังนั้นเราจะมาทำการเปิด Share Folder กันอย่างง่าย ๆ โดยให้ทุกคนสามารถนำไฟล์มาเก็บไว้ที่ Server ได้กัน
การทำ File Share Server ควรจะใช้ Disk ที่ไม่ใช่ Partition เดียวกับ OS หากเป็นไปได้ก็ควรแยก Hard Disk ออกมาต่างหากเลยก็จะดีมาก
สมมติว่าเรามี Folder ชื่อว่า Datas ที่ถูกสร้างอยู่บน Windows Server 2008 R2 ซึ่งกำหนดให้เครื่องนี้เป็น File Sharing Serve แล้วต้องการให้ผู้ใช้งานภายใน Network เดียวกันสามารถบันทึกไฟล์ลงบน Folder นี้ที่ File Share Server ได้ ทำได้โดยการคลิกขวาที่ Folder Datas เลือก Properties
Folder Properties
เลือกแถบ Sharing คลิก Share
Dialog File Sharing เป็นการกำหนดสิทธิ์พื้นฐานอย่างง่าย โดยในระบบ Active Directory นั้น ผู้ใช้งานทุกคนที่ถูกสร้างขึ้น จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่ชื่อว่า Domain Users กันทั้งหมด ดังนั้นการกำหนดสิทธิ์ให้อย่างง่ายนั้นเราเพียงแค่เพิ่มกลุ่มสมาชิกที่ชื่อ ว่า Domain Users เข้ามาเท่านั้นเอง
พิมพ์ Domain Users, คลิก Add, คลิก Share
Add User File Sharing
หน้านี้จะแสดงว่า Path ดังกล่าวได้ถูก Share ขึ้นแล้วตามรายการในช่อง Individual Items, คลิก Done
Individual Items File Sharing
เมื่อผู้ใช้งานบนเครื่อง Windows 7 ต้องการใช้งาน Share Folder ดังกล่าว จะต้องพิมพ์ Path ที่เรียกว่า UNC Path ซึ่งจะเป็นลักษณะ \\DC1\Datas ในช่อง Run หรือที่ Address Bar เหมือนกับที่แสดงในช่อง Individual Items ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสร้างทางลัดด้วยการทำ Map Drive ไว้ได้โดยการคลิกขวาที่ Icon Computer หรือ Network แล้วเลือก Map network drive
Map Network Drive
เลือก Drive Letter แล้วพิมพ์ UNC Path ในช่อง Folder, คลิก Finish
Map Network Drive
เพียงเท่านี้ก็สามารถเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปจัดเก็บไฟล์ลงที่ File Share Server ได้แล้ว แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงวิธีการอย่างง่ายเท่านั้น ซึ่งหลังจากนี้จะมีการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์และโฟลเดอร์ที่ซับซ้อนมาก ขึ้น เช่น กำหนดสิทธิ์รายบุคคล หรือ รายกลุ่ม และการให้สิทธิ์แบบมีเงื่อนไข


Map Drive to File Share


ข้อมูลจาก
http://www.itsesa.com/kb/file-share-server-map-network-drive.html


บริการ ดูแล ระบบคอมพิวเตอร์ | ดูแลระบบ Server | ดูแลระบบ Network
ติดต่อสอบถาม
094-4155985
บริการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ Server Network